ปัจจุบัน SmartPhone อนุญาติให้ผู้พัฒนาแอพสามารถใช้ โมดูลต่างๆ ในมือถือได้ เช่น Camera, Mic, Location แต่ก่อนที่แอพจะสามารถใช้ความสามารถเหล่านั้นบนเครื่องของผู้ใช้ได้ แอพต้องมีการขออนุญาติใช้ก่อน (Permission) ซึ่งลักษณะการขอ Permission นั่น จะมีให้เลือกว่า “อนุญาต” หรือ “ไม่อนุญาต”
ถ้าผู้ใช้เลือก “อนุญาต” ก็ดีไป แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พวกเขาเลือก “ไม่อนุญาต” ขึ้นมาละก็ งานเข้ากันเลยทีเดียว เพราะครั้งหนึ่งที่แอพจดจำสิ่งที่ผู้ใช้เลือกไปแล้ว เป็นการยากมากที่จะกลับไปแก้ไข
ดังนั้น ในส่วนของการขอ Permission ถือว่าเป็น Mission หลักอย่างหนึ่ง ที่เหล่าทางผู้พัฒนาจะต้องโน้มน้าวให้ผู้ใช้กด “อนุญาต” ให้ได้ ซึ่งเทคนิคการขอ Permission นั้นเบื้องต้นมีทั้งหมด 3 เทคนิค
ปล. บทความนี้ผมตั้งใจจะเขียนลง Designil.com แต่ลืมไปว่าเว็บเขาไม่มีหมวดหมู่ Mobile เลยเอามาลงที่นี่แทนครับ ; w ;
1. ขอตั้งแต่ครั้งแรกที่เปิด Application
แอพส่วนใหญ่ มักจะขอ Permission ตั้งแต่หน้าแรกที่เปิดแอพขึ้นมา ซึ่งผลจากการสำรวจพบว่ามีเพียงแค่ 40 เปอร์เซ็นเท่านั้น ที่กดยอมรับ ซึ่งเราต้องเสียอีก 60 เปอร์เซ็นไปโดยเปล่าประโยชน์ (อันนี้อย่าเรียกว่าเทคนิคเลยครับ)
2. ขอโดยอธิบายก่อนว่าทำไมต้องขอ
แทนที่เราจะถาม Permission โดยที่ไม่บอกผู้ใช้ว่า “จะเอาไปทำอะไร” เราควรจะแสดงหรือแจ้งให้ผู้ใช้ทราบก่อนว่า “ทำไมเราถึงขอ” และเขาจะได้อะไรจากการอนุญาติให้เราใช้โมดูลเหล่านั้น
ยกตัวอย่างแอพ Hyperlapse ของผู้สร้าง Instagram
การอธิบายก่อน แล้วขออนุญาต เหมือนที่แอพ Hyperlapse ทำนั้น ทำให้เปอร์เซ็นการอนุญาตเพิ่มขึ้น 65 เปอร์เซ็น (ในแอพอื่นๆ แต่แอพ Hyperlapse คงต้อง 100 เปอร์เซ็น ถ้าไม่อนุญาต ก็คือปิดโปรแกรมไปเลย)
3. Double Dialog
เทคนิคนี้จะเป็นการถาม Permission 2 ครั้ง ซึ่งครั้งแรกเป็นการถามเพื่อให้แน่ใจก่อน ถ้าผู้ใช้กดตกลง ถึงจะถาม Permission จริงๆ อีกครั้ง ถ้าผู้ใช้ปฏิเสธในครั้งแรก เราก็ยังจะสามารถขอ Permission ใหม่ได้เรื่อยๆ เทคนิคนี้สามารถเพิ่มเปอร์เซ็นการยอมรับถึง 70 เปอร์เซ็น
4. In Context
เทคนิคนี้ จะเป็นการขอ Permission ในกรณีที่เราต้องการใช้จริงๆ เช่น ถามเมื่อผู้ใช้กด “เลือกรูปภาพ” เมื่อกดเลือกเมนูนี้ จึงจะถาม Permission ทำให้เปอร์เซ็นการยอมรับนั้นแทบจะอยู่ที่ 100 เปอร์เซ็นกันเลยทีเดียว
สรุปการขอ Permission นั้น มีอยู่ 3 ข้อใหญ่ๆ คือ
– ขอ Permission ในสิ่งที่เราต้องการเท่านั้น
– ขอ Permission เมื่อต้องการ (ไม่ใช่ถามก่อน)
– อธิบายก่อนว่าทำไมต้องขอ Permission
ขอบคุณ lukew.com สำหรับข้อมูลในการเขียนบทความครั้งนี้ครับ